RSS

Category Archives: บันทึก@เทพเจ้า@

ตำนานกรีก โรมัน ตอน ซิลลา คาริบดีส

ซิลลา-คาริบดีส

“between Scylla and Charybdis”

“between the rock and the whirlpool”

“between a rock and a hard place”

สุภาษิตฝรั่ง แปลเป็นไทยได้ว่า “หนีเสือปะจระเข้” ซึ่งมีที่มาจากตำนานอสุรกาย 2 ตนคือ ซิลลา และ คาริบดีส ทั้งคู่อยู่ที่ช่องแคบเมสสินา ในเกาะซิชิลี

กล่าวคือ…

ณ ช่องแคบเมสสินา มีวังน้ำวนขนาดใหญ่ชื่อว่า คาริบดิส ด้วยกระแสน้ำอันเชี่ยวกราก ได้ทำให้เรือลำใหญ่น้อยที่หลงผ่านเข้าไป จมลงเป็นอันมาก และหากว่าเรือลำใดพยายามแล่นให้ห่างออกจากคาริบดิส ก็จะชนเข้ากับโขดหินชื่อ ซิลลาอับปางลงอีกเช่นกัน เพราะซิลลาและคาริบดีส อยู่ห่างกันเพียงแค่ระยะยิงธนูถึงเท่านั้น

กำเนิดของโขดหินซิลลา มีอยู่ว่า… ชายชาวประมงชื่อ กลอคัส (Glaucus) ได้ออกหาปลา แล้วจอดเรือพักที่เกาะร้างแห่งหนึ่งเพื่อคัดแยกปลา ครั้นพอเทปลาที่ส่วนใหญ่ตายแล้วลงบนพื้นหญ้า ปลาทุกตัวก็กลับมีชีวิตและตะเกียกตะกายกลับลงน้ำไป กลอคัสเข้าใจว่าเป็นเพราะต้นหญ้าพวกนั้น จึงลองถอนหญ้าขึ้นมากินกำหนึ่ง ทันใดนั้นเขาก็รู้สึกกระวนกระวายอยากลงไปในน้ำ กลอคัสจึงกระโดดลงน้ำไป

เทพโอเชียนัส (Oceanus : เทพไตตันผู้ครองมหาสมุทร รุ่นก่อนโพเซดอน ซึ่งในสงครามที่ไตตันสู้รบกับซีอุส

โอเชียนัสยอมเข้าพวกกับซีอุส จึงไม่ถูกยึดอำนาจไปทั้งหมด โดยโพเซดอนจะครองทะเลเมอดิเตอเรเนียน และแม่น้ำลำธาร
ส่วนทะเลนอกเหนือจากเขตนั้น ยังเป็นของโอเชียนัส) ก็ได้ให้การต้อนรับและแต่งตั้งกลอคัสเป็นเทพแห่งน้ำอีกองค์หนึ่ง โดยการนำสาย น้ำมาชำระความเป็นมนุษย์ออก เมื่อกลายเป็นเทพแล้ว กลอคัสก็มีเรือนผมสีเขียวน้ำทะเล และมีร่างกายท่อนล่างเป็นอย่างปลา

ต่อมากลอคัสก็ได้พบกับหญิงสาวชื่อ ซิลลา (Scylla : บางที่ก็ว่าเป็นอัปสร ธิดาของพอร์ซิส (Phorcys : เทพแห่งน้ำ)
(กี่องค์ แล้วเนี่ย เทพแห่งน้ำเยอะจริงๆ)) นางลงมาเล่นน้ำ กลอคัสเห็นเข้าก็หลงรัก แต่ซิลลาตกใจกลัวในรูปร่างประหลาดของกลอคัส นางจึงวิ่งหนีขึ้นไปบนฝั่ง กลอคัสไม่สามารถตามขึ้นไปได้ จึงไปปรึกษา เซอร์ซี (Circe) แม่มดแห่งท้องทะเล เพื่อให้นางช่วยเหลือ

แต่เซอร์ซีกลับหลงรักกลอคัส นางพยายามเกลี้ยกล่อมให้ลืมซิลลาเสีย แต่ก็ไม่เป็นผล เซอร์ซีจึงเอาน้ำพิษร้ายไปเทไว้
ณ ตำแหน่งที่ซิลลาชอบมาเล่นน้ำ เมื่อซิลลากลับลงมาเล่นน้ำที่เดิม ก็ถูกพิษกลับกลายเป็นอสุรกาย มีหัวและคอถึง 6 หัวลำคอเหมือนงู หัวเหมือนหมาป่า มีฟัน 3 แถว และมีขาถึง 12 ข้าง แต่ถูกตรึงอยู่ ณ ที่นั้น ไม่สามารถขยับไปไหนได้ ดักคอยเล่นงานเรือที่สัญจรผ่านไปมา ต่อมาก็กลับกลายเป็นโขดหินไป (บางที่กล่าวว่า เฮรากลิส (Heracles : ชื่อกรีก) หรือ เฮอร์คิวลิส (Hercules :ชื่อโรมัน) ผ่านมาและได้ฆ่าซิลลา นางจึงกลับกลายเป็นโขดหิน)

แต่อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า นางซิลลาเป็นอนุภรรยาของโพเซดอน ด้วยความหึงหวงทำให้เทวีแอมพริติตี (Amphitrite)ชายาของโพเซดอน เอายาพิษมาโปรยตรงบริเวณนั้น ทำให้ซิลลากลายเป็นอสุรกายไป

ส่วนเรื่องของ คาริบดีส (Charybdis) มีอยู่ค่อนข้างสั้น กล่าวว่านางเป็นนางอัปสรธิดาของ โพเซดอน และ เจ้าแม่ธรณี จี

(Ge, Gaia, Gaea) แต่อีกตำรากล่าวว่านางเป็นหนึ่งในหมู่อัปสรนีเรียด (Nereids) ธิดา 50 องค์ของเทพนีรูส (Nereus) เทพแห่ง

ทะเลอีเจียน

นางได้ทำให้น้ำท่วมขึ้นไปบนแผ่นดิน เพื่อขยายอาณาเขตของบิดานาง (บางที่กล่าวว่า นางไปขโมยวัวของซีอุส) ซีอุสโกรธ

จึงใช้สายฟ้าฟาดนางถึง แก่ความตาย แล้วสาปให้เป็นอสุรกายที่มีปากขนาดใหญ่ ดูดและพ่นน้ำปริมาณมหาศาลวันละ 3 ครั้ง ทำให้เกิด

เป็นวังวนคาริบดีสขึ้น ใกล้ๆกับที่สถิตของซิลลานั่นเอง

จรกา

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 17, 2011 นิ้ว บันทึก@เทพเจ้า@

 

กำเนิดเทพกรีก ตามตำราฮีเสียด


ตามตำรา Hesiod เรื่องมันเริ่มตรงที่
เทพเจ้าที่ชื่อ Chaos (เคออส) แปลว่าความว่างเปล่า ก็อย่างชื่อบอกแหละว่างเปล่าจริงๆ ทั้งจักรวาลไม่มีอะไรเลย จากนั้นก็มี Gaia (กายยา หรือไกอา หรือจิอา) ซึ่งแปลว่าดิน, Tartarus (ทอรทารัส) ซึ่งแปลว่านรก และ Eros (อีรอส) ซึ่งแปลว่าตัญหา เกิดขึ้นมา แล้ว Gaia ก็ให้กำเนิด Uranus (ยูเรนัส) ซึ่งเป็นเทพแห่งท้องฟ้า โดยลำพัง แต่ตามคำรา Apollodorus แล้ว เรื่องมันเริ่มตรงที่ Gaia เลย แตกต่างกันนิดหน่อย ไม่มาก แล้ว Uranus ก็ได้เป็นผู้ปกครองเทพเจ้าทั้งหมดเป็นคนแรก ต้องเข้าใจอีกนิดนะว่า เทพเจ้ากรีก ส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆ ทั้งรูปธรรม และ นามธรรม ตัวอย่างก็เช่น เวลาพูดถึง Uranus ก็ให้คิดถึงท้องฟ้า ความกว้างใหญ่ที่แผ่ปกคลุมพื้นดิน
หรือ Eros ซึ่งเป็นความรู้สึก เป็นนามธรรม มีผลกับทุกสิ่งทั้งเทพเจ้าและมนุษย์ เวลาอ่าน ก็ลองคิดตามไปด้วย จะคิดว่า Tartarus เป็นเทพเจ้าแห่งนรก เป็นผู้สร้างนรก หรือเป็นตัวนรกเองก็ได้
หรือจะคิดว่า Gaia ก็คือ พระแม่ธรณี จะนึกภาพเป็น เทพเจ้าแห่งพื้นดิน หรือเป็นตัวพื้นดินเอง ก็ได้เช่นกัน
จากนั้น Gaia และ Uranus ก็สมสู่กัน และให้กำเนิดลูกๆ มากมาย (อย่าตกใจนะว่า ก็แม่ลูกกันไม่ใช่เหรอ มันเป็นเรื่องของนิยายเชิงนามธรรม อ่านต่อไปเรื่อยๆ แล้วกัน) ลูกๆ ของ Gaia และ Uranus ก็แบ่งได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นยักษ์ร้อยมือ ห้าสิบหัว มีสามคนด้วยกัน (ไม่รู้ว่าจะใช้ลักษณะนามอะไรดี ใช้ คน หมดเลยแล้วกัน) ชื่อ Briareus (ไบอาริอุส), Gyes (กายเอ็ส) และ Cottus (คอททัส)
กลุ่มที่สองเรียกว่า Cyclopes หรือยักษ์ตาเดียว ชื่อ Arges (อาเกส), Steropes (สเตอโรเปส) และ Brontes (บรอนเตส) ชื่อของสามคนนี้แปลว่า แสงสว่างจากฟ้า ฟ้าผ่า และ ฟ้าร้อง ตามลำดับ
ลูกทั้งหกคนนื้ ถูก Uranus จับโยนลงไปในนรกและขังไว้เพราะความเกลียดชัง จากนั้น Uranus และ Gaia ก็มีลูกสองกลุ่มถัดมา เรียกว่า Titans (ไททาน) ซึ่งเป็นชายหกคน และ Titanides (ไททานไนด์) ซึ่งเป็นหญิงเจ็ดคน แต่บางทีก็ถูกเรียกเป็น Titans เหมือนกันหมด

เนื่องจาก Uranus หรือท้องฟ้าเนี่ย กลัวว่าลูกของตนจะมาแย่งชิงอำนาจ และตำแหน่งเทพแห่งเทพไป เมื่อ Gaia ให้กำเนิด Titans ออกมา Uranus ก็เอาไปขังไว้ใต้ดินทีละคน ทุกๆ คน
ตรงนี้ต้องคิดนิดหนึ่ง ไอ้ใต้ดินเนี่ย มันที่ไหน ก็ในเมื่อ Gaia คือพื้นดิน ใต้ดินก็น่าจะเป็นในตัว Gaia เอง พวก Titans ถูก Uranus ขังไว้ในท้อง Gaia เมื่อมากๆ เข้า Gaia ก็เจ็บปวดและทนไม่ไหว
จึงวางแผนที่จะให้ลูกๆ ในท้องทำร้ายพ่อ และหนีออกมา จึงสร้างเคียวขึ้นมา จากสิ่งที่เรียกว่า Adamant (เอาชนะไม่ได้ เพราะไม่มีใครเอาชนะเวลาได้ เป็นอีกหนึ่งการตีความนามธรรมเป็นรูปธรรม) ซึ่งเชื่อว่าแข็งแรงที่สุด และนำไปให้ลูกๆ ในท้อง พร้อมกับบอกแผนการไป แต่เนื่องจากลูกทุกคนก็กลัวพ่อ จึงไม่มีใครกล้าทำตามแผนของ Gaia ยกเว้น Cronus (โครนัส) ซึ่งยอมที่จะช่วยแม่Cronus เป็นเทพแห่งเวลา หรือตัวเวลา นั่นเอง
เอาละ ตามแผนของ Gaia นั้น Cronus จะรอจนกว่า Uranus จะมาสมสู่กับ Gaia พอมาถึง
Cronus ซึ่งอยู่ในท้องก็จะต้องใช้มีดตัดอวัยวะเพศของ Uranus (ไม่ต้องเสียว เป็นการตีความจากนามธรรม) แล้วพาพี่น้องหนีกันออกมา แน่นอน ว่าสำเร็จตามแผน ตั้งแต่นั้นมา ท้องฟ้าก็ไม่เคยสัมผัสพื้นดินอีกเลย(อีกนัยยะทางนามธรรมหนึ่ง ก็คือ เวลา ได้ทำให้ ท้องฟ้า แยกจาก แผ่นดิน)
เมื่อออกมาแล้ว Cronus ก็นำอวัยวะของพ่อไปทิ้งทะเล เมื่อตกโดนทะเล ก็มีฟองเกิดขึ้นมากมาย
และในท่ามกลางฟองนั้นก็มีเทพเจ้าอีกคนถือกำเนิดขึ้นมา คือ Aphrodite นั้นเอง (จริงๆ แล้ว ในภาษากรีก คำว่า Aprhodite แปลว่า เกิดจากฟอง) Aphrodite จึงเป็นเทพแห่งความรักและตัญหา (ฝ่ายหญิง จำได้ไหม Eros เป็นแบบเดียวกัน แต่ฝ่ายชาย) นี่ก็เป็นที่มาของภาพวาดชื่อดัง Birth of Venus ของ ศิลปิน S&o Botticelli และคำภาษาอังกฤษ aphrodisiac ที่แปลว่า ยาปลุกอารมณ์ทางเพศ – -.. ทว่า มีข้อขัดแย้งนิดหน่อย ตรงนี้ ที่กล่าวมาเกี่ยวกับการเกิดของ Aphrodite เป็นไปตามที่ Hesiod เขียน แต่ตำรา Apollodorus นั้น Aphrodite เป็นลูกของ Zeus เกิดเรียบง่ายกว่าเยอะ ไม่หวือหว่าเท่า (ไว้เล่าถึง Zeus แล้วจะค่อยขยายต่อนะ)
เอาละ Cronus ก็พาพี่น้องออกกันมาได้สำเร็จ และกลายเป็นมหาเทพ
หลังจากแย่งชิงบัลลังค์จากพ่อได้ ดังที่ Uranus กลัว ก็ขึ้นครองบัลลังค์เป็นราชาแห่งเทพแทน
ตำราภายหลังเล่าต่ออีกนิดว่า Uranus ก็แช่ง Cronus ไว้ว่า จะหลานจะมาชิงบัลลังก์ เหมือนที่พ่อทำกับปู่ ทำให้ Uranus ระแวง และต่อไปจะนำไปสู่ตำนานกำเนิด มหาเทพ Zeus (ซูส หรือ เซอูส) ราชาแห่งเทพคนปัจจุบัน เรื่องราวของเทพองค์อื่นๆ จะขอเล่าในตอนหน้าถ้ามีโอกาสนะ…

สมาคมเทพใหญ่แห่งกรีก

เทพ 12 องค์ ที่นั่งบัลลังก์สมาคมเทพ ณ เทือกเขา Olympus (โอลิมปัส)
หมายเหตุ : ชื่อหน้า ภาษากรีก (ชื่อในวงเล็บ ภาษาโรมันและอังกฤษ)

1. Zeus (Jupiter) – God of Universe
… เซอุส (จูปิเตอร์) – ราชาจอมเทพ (รุ่นที่3)
2. Hera (Juno) – Goddess of Marriage & Birth
… เฮร่า (จูโน) – ราชินีเทพ เทพีแห่งการแต่งงานและการคลอด
3. Ares (Mars) – God of War
… เอเรส (มาร์ส) – เทพแห่งสงคราม
4. Hephaestus (Valcan) – God of Fire (พระเพลิง)
… เฮฟเฟตัส (วัลแคน) – เทพแห่งไฟ
5. Aphrodite (Venus) – Goddess of Love
… อะโฟรไดท์ (วีนัส) – เทพีแห่งความรักและเสน่หา
6. Hermes (Mercury) – Herald of the God, Medicine, Shepherds, Travel, Merchants Weights&measures, Oratory&Literature, Speed&Athletics, Thieve
… เฮอร์เมส (เมอร์คิวรี่) – เทพแห่งการสื่อสาร, การแพทย์, การเลี้ยงสัตว์, การเดินทาง, พ่อค้าและการชั่งตวง, สุนทรพจน์และวรรณกรรม, ความเร็วและการกีฬา, ขโมย
7. Demeter (Ceres) – Goddess of Harvest
… ดีเมเทอร์ (เซเรส) – เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเก็บเกี่ยว (แม่โพสพ)
8. Poseidon (Neptune) – Lord of the Oceans
… โพไซดอน (เนปจูน) – จ้าวแห่งสมุทร
9. Athena (Minerva) – Goddess of Wisdom
… เอเธน่า (มิเนอร์ว่า) – เทพีแห่งปัญญาและชัยชนะ
10.Apollo (Apollo) – God of Light & Music
… อะพอลโล – เทพแห่งแสงและการดนตรี
11.Artemis (Diana) – Goddess of the Hunt
… อาร์เทมิส (ไดอะน่า) – เทพีแห่งการล่า
12.Dionysus (Baccus) – God of Wine & celebrate
… ดีโอนีซัส (แบคคัส) – เทพแห่งไวน์และการฉลอง

สำหรับเทพอื่นๆ ก็เช่น
13.Cronos (Saturn) – God of Time
… โครนอส (แซทเทิร์น) – เทพแห่งเวลา
14. (Uranus) – God of Heaven (Sky)
… (ยูเรนัส) – เทพแห่งสวรรค์ (ท้องฟ้า)
15.Gaia or Rhea (Cebelle) – Goddess of Earth
… ไกอา หรือ รีอา (เซเบล) – เทพแห่งโลก (แม่ธรณี)
16.Hades (Pluto) – God of Hell
… ฮาเดส (พลูโต) – เทพแห่งนรก (ยมราช)
17.Hestia (Vesta) – Goddess of the Heart & the Hearth
… เฮสเทีย (เวสต้า) – เทพีแห่งความรักและเตาไฟ (ครัวเรือน)
18.Helious (Sol) – God of Sun
… เฮลิออส (โซล) – สุริยะเทพ (บางตำราว่าเป็นองค์เดียวกับ Apollo)
19.Eros (Aurora) – God of Dawn
… อีรอส (ออโรร่า) – เทพแห่งแสงรุ่งอรุณ
20.Cerena (Luna) – Goddess of Moon
… เซเรน่า (ลูน่า) – เทพีแห่งดวงจันทร์ (จันทราเทพี)
21. Nemasis (RHAMNUSIA) – Goddess of Justice, Retribution, Punishment & Vengeance
… เนเมซิส – เทพีแห่งยุติธรรม โชคชะตา การลงทัณฑ์ และการแก้แค้น
22. Pan (Pan) – God of Shepherds, Flocks & Fornication
… แพน – เทพแห่งคนเลี้ยงสัตว์, ฝูงสัตว์ และสัมพันธ์สวาท
23. Percephone (Perserpine) – Goddess of Sping
… เพอร์เซโฟเน่ (เพอร์เซอร์ไพน์) – เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิต

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 17, 2011 นิ้ว บันทึก@เทพเจ้า@